ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวจิรัสยา สัตตัง ค่ะ 5511200957 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่2







วันนี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหา เกี่ยวกับความแตกต่างของเรียนรวม กับเรียนร่วม ดังนี้

รูปแบบการจัดการศึกษา
การศึกษาปกติทั่วไป ( Regular  Education)
การศึกษาพิเศษ (Special  Education)
การศึกษาแบบเรียนรวม  (Integrated Education)
การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive  Education)

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
-จัดให้เด็กเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา
การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนร่วมกับเด็กปกติในบางเวลา
การเรียนร่วมเต็มเวลา
จัดใหเด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

- เป็นการจัดการศึกษา ที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
- เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาในโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้เหมาะสมและดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน








อาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัดทดสอบความเข้าใจที่เรียนในชั่วโมงโดยไม่ต้องเปิดชีทที่แจก
และให้นักศึกษาร่วมกันร้องเพลง ดังนี้








บรรยากาศในห้องเรียน





การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรูที่อาจารย์สอนในวันนี้ไปปรับใช้ในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้กับเด็กปฐมวัย
และรู็เทคนิคในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะให้เด็กมีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด




ประเมินตนเอง  

 วันนี้ไม่ค่อยคุยกัน เนื่องจากไม่ค่อยสบาย มาเรียนสาย แต่ก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนนะคะ

ประเมินเพื่อน

 วันนี้เพื่อนดูท่าทางสนุกสนานในการเรียนมาก เนื่องจากเรียนรวมกันสองเสค จึงทำให้คุยกันบางคน แต่เมื่ออาจารย์เตือนและก็มองเพื่อนก็หยุดคุยกันค่ะ

ประเมินอาจารย์  อาจารย์สอนได้สนุกทุกวัน ไม่น่าเบื่อ ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องที่สอนมาให้นักศึกษาได้ฟังเป็นประสบการณ์เยอะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น