ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวจิรัสยา สัตตัง ค่ะ 5511200957 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่16






 วันนี้อาจารย์สอบร้องเพลงเต็ม 5คะแนน
โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
ร้องเอง เนื้อร้องถูกต้อง ได้ 5 คะแนน
ดูเนื้อ ร้องถูกทำนอง      ได้ 4 คะแนน
ดูเนื้อให้เพื่อนช่วยร้อง    ได้ 3 คะแนน

ดิฉันจับฉลากได้เพลง รำวงดอกมะลิ



เจอกันใหม่เทอมหน้านะคะ รักนะจุ้บ จุ้บ........


วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่15





วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับวิธีเขียนแผน IEP
 แผน IEP 
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

การเขียนแผน IEP
อันดับแรกต้องคัดแยกเด็กพิเศษออกจากเด็กปกติ ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร และครูจะต้องประเมินเด็กเป็นระยะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าเด็กต้องเริ่มช่วยเหลือจากจุดไหน
ครูต้องทราบว่ามีสิ่งไหนบ้างที่เด็กทำได้และสิ่งไหนบ้างที่เด็กทำไม่ได้ จากนั้นจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปปี/เป้าหมายระยะสั้น
-ระบุ วัน/เดือน/ปี ที่เริ่มทำการสอน  และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผลเด็กจากการใช้แผน IEP


ขั้นตอนการทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดกิจกรรม
-จะต้องได้รับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายระยะยาว กำหนดให้ชัดเจน แม้กว้าง เช่น

-น้องอั๋นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องหยกเล่นร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-มีพฤติกรรมอะไร
-สอนเมื่อหร่ ที่ไหน
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

Ex
ใคร                         เด็กหญิงน้ำ
อะไร                       เดินทรงตัวตามแนวเส้นตรงที่ครูทำไว้
ที่ไหน/ เมื่อไหร่       กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน            เดินได้สองรอบในเวลา 5 นาที  

3. การใช้แผน
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้นนำมาเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเด็ก
แยกย่อยขั้นตอนให้เหมาะสมกับเด็ก พร้อมทั้งจัดเตรียมสื่อและกิจกรรมในการเรียนการสอน

4. การประเมินผล
-โดยทั่วปจะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์การวัดผล

**โดยระบุเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการวัดและประเมินผลเด็ก







อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้ช่วยกันคิด การเขียนแผน IEP ให้ลองสังเกตเพื่อนในกลุ่มว่ามีคนไหนเข้าข่ายเด็กพิเศษ เช่น บกพร่องด้านร่างกายและสุขภาพ จากนั้นก็ให้เริ่มเขียนแผน
กลุ่มของดิฉันเลือก นางสาวดาราวรรณ บกพร่องทางการทรงตัว (สมมุติค่ะ55)




  


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีการเขียนแผน IEP ไปใช้ได้ในอนาคตการสอน ถ้าเด็กห้องที่เราสอนมีเด็กพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติ เราสามาถเขียนแผนเพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กได้อย่างตรงจุดค่ะ



ตนเอง  มาเรียนสาย แต่ก็เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน ระดมความคิดในการทำงานกลุ่ม

เพื่อน  เพื่อนส่วนมากตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

อาจารย์ อาจารย์อธิบายได้เข้าใจค่ะ และเดินดูนักศึกษาเวลาทำงาน ให้คำแนะนำในการเขียนแผนค่ะ



วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่14



***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดเทศกาลวันสงกรานต์







วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่13





**วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน  ลากลับต่างหวัดค่ะ
 แต่ดิฉันได้สรุปจากชีทของอาจารย์ เป็นmind mapping ได้ดังนี้







วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่12






** อาจารย์ให้ไปเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ในวันพุธที่ 1 เมษายน 2558



วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่11




****วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์สอบเก็บคะแนนในชั้นเรียนเกี่ยวกับความรู้ที่ได้เรียนมา                    ทั้งหมด 5 ข้อ 10คะแนน





วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่10



****วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย
แต่ก็สอบถามเกี่ยวกับเรียนในห้องจากๆเพื่อน และได้อ่านชีทที่อาจารย์ให้ปริ้นมาเรียน โดยสรุปตามความเข้าใจ ดังนี้





 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 คือการฝึกให้เด็กได้รู้จักช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น การแต่งตัว การใส่เสื้อผ้า ติดกระดุมเสื้อ ใส่รองเท้าถุงเท้า การรับประทานอาหาร การอาบน้ำ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นง่ายๆที่เด็กต้องฝึก้ให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง จะต้องให้เด็กเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระมากที่สุด เช่น การกิน การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว แม้กระทั่งกิจวัตรต่างๆในแต่ละวัน ต้องให้อิสระกับเด็กไม่บังคับหรือวางกรอบให้เด็กทำสิ่งนั้นๆได้ เพราะเด็กพิเศษต้องฝึกบ่อยๆและทำซ้ำๆ ไม่ได้ฝึกเพียงแค่ครั้งสองครั้งก็ทำได้เหมือนเด็กปกติ ครูหรือผู้ปกครองควรใจเย็นและให้โอกาสเด็กได้ทำบ่อยๆ ให้อิสระในการทำโดยที่ไม่ไปทำให้เด็กเพราะคิดว่าเด็กคงทำไม่ได้หรือทำช้า ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้หากให้เวลาเขาทำ เด็กพิเศษจะเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนทเด็กที่โต กว่าและผู้ใหญ่  ซึ่งความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กพิเศษ เพราะจะทำให้เด็กได้กระทำด้วยตัวเอง เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เกิดความภูมิใจว่าเราก็สามารถทำได้เหมือนกับคนอื่นๆ จะทำให้เขาเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำสิ่งนั้น

การที่เราจะให้เด็กพิเศษทำอะไรหรือสอนให้เขาช่วยเหลือตนเอง ควรแบ่งทักษะของเด็กออกเป็นขั้นๆ เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น
การเข้าส้วม
-เดินเข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม



วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่9






วันนี้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางภาษา
การวัดทักษะทางภาษาของเด็ก เช่นการวัดว่าเด็กเข้าใจสิ่งที่เราพูดไหม เด็กตอบสนองเมื่อมีคนพูดคุยด้วยหรือเปล่า  เด็กถามหาสิ่งต่างๆหรือบอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่พบเจอได้ไหม ซึ่งจะเป็นทักษะในการพูดคุยการสื่อสารของเด็กว่าเด็กมีพัฒนาการมากน้อยเพียงใด

การออกเสียงผิด/การพูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียงหนึ่ง
-ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ปกครอ
-ไม่สนใจการพูดซ้ำซากหรือออกเสียงที่ไม่ชัดของเด็ก
-ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ"  "ตามสบาย"  " คิดก่อนพูด"
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน เช่นได้ยินเสียงไม่ชัดเจน หรือมีความผิดปกติทางการได้ยิน
ครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรดูแลและช่วยเหลืออย่างตรงจุด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
1. ให้เด็กเด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่มเพราะเด็กพิเศษจะมีแบบอย่างมาจากเพื่อน เลียนแบบจากเพื่อนหรือคนใกล้ชิด
2. กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเองโดยที่ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า
3. เน้นวิธีการสือความหมายมากกว่าการพูด
4. ใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กเพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิด ในการตอบได้หลากหลากคำตอบ เพราะเด็กพิเศษยิ่งรับรู้เรื่องราวมากเท่าไหร่ยิ่งพูดได้มาก

การสอนตามเหตุการณ์
คือการสอนเด็กตามสถานการณ์นั้นที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้น โดยไม่มีการเตรียมการสอนมาล่วงหน้าเช่น เด็กกำลังใส่ผ้ากันเปื้อน ครูเข้าไปแนะนำและสอนวิธีใส่ผ้ากันเปื้อนให้เด็ก หรือเด็กเข้ามาขอคำแนะนำในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการระบายสี 






กิจกรรมในวันนี้ อาจารย์ให้จับคู่สองคน พร้อมแจกกระดาษปอนด์ให้ 1 แผ่น พร้อมสีคนละ1 แท่งดดยให้เลือกมาคนละ 1 สีที่ตนชอบ






วิธีการทำกิจกรรม
เมื่ออาจารย์เริ่มเปิดดนตรีให้แต่ละคู่ลากเส้น จะลากแบบไหนก็ได้ตามที่เรารูสึกเมื่อได้ฟังดนตรี
เมื่อดนตรีจบ ให้ดูว่าภาพที่ลากรั้นมีช่องปิดกี่ช่อง ให้ระบายสีในช่องปิดทุกช่อง

ผลการทำกิจกรรม
ถ้าคู่ไหนมีช่องเหลี่ยมปิดเยอะแสดงว่าเป็นคนคิดมากคิดเยอะ ถ้าช่องปิดน้อยแสดงว่าเป็นคนคิดน้อยๆ และถ้าดูจากการระบายสี คู่ไหนระบายสีเข้มแสดงว่าเป็นคนที่ชอบความท้าทาย ส่วนการระบายสีอ่อนๆแสดงให้เห็นว่าเป็นคนเรียบง่าย

การนำไปประยุกต์ใช้
กิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้ จะช่วยในการฝึกสมาธิของเด็ก ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ทักษะการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา และยังฝึกความซื่อสัตย์ให้เด็กอีกด้วยค่ะ






ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน แต่ยังมาเรียนสาย

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม และมีการพูดคุย สนทนา สื่่อสารกันในห้องเรียน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี และมีเทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจค่ะ



ภาพการทำกิจกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่8




วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่ิองจากเป็นวันสำคัญทางศาสนาให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายร่วมทำบุญในวันมาฆาบูชา




ความสำคัญของวันมาฆะบูชา
"วันมาฆบูชา" เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์แก่มหาสังฆสันนิบาตในมณฑลวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งในวันนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการคือ



วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 6










วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมจากสัปดาห์ที่แล้ว
และสอนเนื้อหาเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้ว

การบอกบท คือ การกำกับในทุกขั้นตอนที่ทำกับเด็ก
การย่อยงานจะต้องย่อยมาให้ดีจึงจะได้บอกบทได้
ส่วนการลงโทษเด็กที่ดีควรทำดังต่อไปนี้
-ห้ามในสิ่งที่เขาชอบ
-เอากิจกรรมออกจากเด็ก เช่น ยึดของเล่น
-เอาเด็กออกจากกิจกรรม



เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 ทักษะทางสังคม
เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่  การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆเหมาะสมกับวัย

กิจกรรมการเล่น
การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม ซึ่งเด็กจะสนใจและพูดคุยกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ในเด็กพิเศษช่วงแรกๆเด็กจะมองเพื่อนไม่เป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูควรเริ่มต้นสังเกตุเด็กอย่างเป็นระบบ จะได้บอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใด จากนั้นจดบันทึก แล้วทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียบแบบและการเอาอย่าง
วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่างโดยคำนึงถึงเด็กทุกๆคน
ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน โดยเด็กปกติจะทำหน้าที่เสมือนครูให้เด็กพิเศษ

ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น 
-อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากจนเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาในการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น คือ ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน ทำโดยการพูดนำของครู




จากภาพ เราจะมีวิธีการอย่างไรให้เด็กคนนี้เข้าไปเล่นกับเพื่อน ?

จากภาพเด็กมองเพื่อนๆเล่น แล้วอยากเข้าไปเล่นด้วย แต่ไม่กล้าเข้าไป
ครูควรเข้าไปชักชวนให้เด็กเข้าไปเล่นกับเพื่อน โดยเด็กเข้าไปให้ถือของเล่นเข้าไปด้วย เพื่อเป็นจุดสนใจให้เพื่อนๆในกลุ่มอยากที่จะเล่นของเล่นที่น้องถือเข้าไป เมื่อพาเด็กเข้าไป ครูควรเฝ้าดูเด็กอย่างใกล้ๆ และพูดชักชวนให้เด็กๆเล่นด้วยกัน






 มาร้องเพลงกันเถอะ




ศิลปะและดนตรีบำบัด
กิจกรรมเส้นและจุด

-ครูให้จับคู่ ให้ออกมาเลือกสีที่ตนชอบคนละ 1 สี
-จากนั้นให้เลือกว่าใครจะลากเส้น ใครจะเป็นคนจุด (จุดต้องจุดในวงกลมเท่านั้น)
-ครูเปิดดนตรี แล้วให้เด็กเริ่มลากเส้นตามดนตรีและตามความรู้สึกของตน ลากเส้นโดยไม่ให้ยกมือ และให้อีกคนจุดตามความรู้สึก
โดย คนที่ลากเส้น เป็นเด็กพิเศษ  ส่วนคนที่จุดเป็นเด็ก ปกติ
-พอเพลงจบให้เด็กมองภาพที่ตนลากว่าสามารถมองเป็นภาพอะไรได้บ้าง แล้วระบายสีภาพนั้น



**ในกรณีที่เด็กมองภาพไม่ออก ครูจะต้องคอยชี้แนะเด็ก 
* เพลงที่ใช้เปิดควรเป็นแค่ดนตรีไม่มีคนร้อง




การนำไปประยุกต์ใช้

จากบทเรียนที่ครูสอนในวันนี้สามารถนำเทคนิคการสอนไปใช้ในการสอนเด็กในห้องเรียนรวมได้
สามรถนำเทคนิคกาชักชวนให้เด็กพิเศษเล่นร่วมกับเด็กปกติได้เพื่อที่จะให้เขามีบริบททางสังคมที่ดี
และสามารถนำเทคนิคการจัดกิจกรรมในห้องเรียนรวมไปใช้กับเด็กในอนาคตได้ ในกรณีที่ห้องเรียนนั้นมีเด็กพิเศษอยู่ด้วย

สามารถนำกิจกรรมเส้นและจุดไปใช้กับเด็กได้ ใช้เป็นกิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัด ให้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติได้ร่วมทำ




ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนน

ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และตอบคำถามในบทเรียนที่อาจารย์ถามได้

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ดี  มีการเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าสู่เนื้อหาที่เรียนอย่างเหมาะสม และยกตัวอย่างจากเนื้อหาให้นักศึกษาเห็นได้ชัด




บรรยากาศในการเรียน