ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สัปดาห์ที่ 6
วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมจากสัปดาห์ที่แล้ว
และสอนเนื้อหาเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้ว
การบอกบท คือ การกำกับในทุกขั้นตอนที่ทำกับเด็ก
การย่อยงานจะต้องย่อยมาให้ดีจึงจะได้บอกบทได้
ส่วนการลงโทษเด็กที่ดีควรทำดังต่อไปนี้
-ห้ามในสิ่งที่เขาชอบ
-เอากิจกรรมออกจากเด็ก เช่น ยึดของเล่น
-เอาเด็กออกจากกิจกรรม
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคมเด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆเหมาะสมกับวัย
กิจกรรมการเล่น
การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม ซึ่งเด็กจะสนใจและพูดคุยกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ในเด็กพิเศษช่วงแรกๆเด็กจะมองเพื่อนไม่เป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูควรเริ่มต้นสังเกตุเด็กอย่างเป็นระบบ จะได้บอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใด จากนั้นจดบันทึก แล้วทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียบแบบและการเอาอย่าง
วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่างโดยคำนึงถึงเด็กทุกๆคน
ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน โดยเด็กปกติจะทำหน้าที่เสมือนครูให้เด็กพิเศษ
ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากจนเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาในการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น คือ ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน ทำโดยการพูดนำของครู
จากภาพ เราจะมีวิธีการอย่างไรให้เด็กคนนี้เข้าไปเล่นกับเพื่อน ?
จากภาพเด็กมองเพื่อนๆเล่น แล้วอยากเข้าไปเล่นด้วย แต่ไม่กล้าเข้าไป
ครูควรเข้าไปชักชวนให้เด็กเข้าไปเล่นกับเพื่อน โดยเด็กเข้าไปให้ถือของเล่นเข้าไปด้วย เพื่อเป็นจุดสนใจให้เพื่อนๆในกลุ่มอยากที่จะเล่นของเล่นที่น้องถือเข้าไป เมื่อพาเด็กเข้าไป ครูควรเฝ้าดูเด็กอย่างใกล้ๆ และพูดชักชวนให้เด็กๆเล่นด้วยกัน
มาร้องเพลงกันเถอะ
ศิลปะและดนตรีบำบัด
กิจกรรมเส้นและจุด
-ครูให้จับคู่ ให้ออกมาเลือกสีที่ตนชอบคนละ 1 สี
-จากนั้นให้เลือกว่าใครจะลากเส้น ใครจะเป็นคนจุด (จุดต้องจุดในวงกลมเท่านั้น)
-ครูเปิดดนตรี แล้วให้เด็กเริ่มลากเส้นตามดนตรีและตามความรู้สึกของตน ลากเส้นโดยไม่ให้ยกมือ และให้อีกคนจุดตามความรู้สึก
โดย คนที่ลากเส้น เป็นเด็กพิเศษ ส่วนคนที่จุดเป็นเด็ก ปกติ
-พอเพลงจบให้เด็กมองภาพที่ตนลากว่าสามารถมองเป็นภาพอะไรได้บ้าง แล้วระบายสีภาพนั้น
**ในกรณีที่เด็กมองภาพไม่ออก ครูจะต้องคอยชี้แนะเด็ก
* เพลงที่ใช้เปิดควรเป็นแค่ดนตรีไม่มีคนร้อง
การนำไปประยุกต์ใช้
จากบทเรียนที่ครูสอนในวันนี้สามารถนำเทคนิคการสอนไปใช้ในการสอนเด็กในห้องเรียนรวมได้
สามรถนำเทคนิคกาชักชวนให้เด็กพิเศษเล่นร่วมกับเด็กปกติได้เพื่อที่จะให้เขามีบริบททางสังคมที่ดี
และสามารถนำเทคนิคการจัดกิจกรรมในห้องเรียนรวมไปใช้กับเด็กในอนาคตได้ ในกรณีที่ห้องเรียนนั้นมีเด็กพิเศษอยู่ด้วย
สามารถนำกิจกรรมเส้นและจุดไปใช้กับเด็กได้ ใช้เป็นกิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัด ให้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติได้ร่วมทำ
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนน
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และตอบคำถามในบทเรียนที่อาจารย์ถามได้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ดี มีการเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าสู่เนื้อหาที่เรียนอย่างเหมาะสม และยกตัวอย่างจากเนื้อหาให้นักศึกษาเห็นได้ชัด
บรรยากาศในการเรียน
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สัปดาห์ที่ 5
เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยกิจกกรมวาดภาพมือ โดยอาจารย์แจกถุงมือคนละ 1 ข้าง จากนั้นให้ใส่ถุงมือด้านที่ตนไม่ถนัด แล้วให้วาดภาพมือในถุงมือที่ใส่ ว่าข้างในมือเราเป็นอย่างไร มีเส้นเลือดหรือรอยย่ยตรงไหนบ้าง เก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด วาดให้เหมือนข้างใน โดยไม่ให้แอบเปิดดู
อาจารย์ให้ความหมายของกิจกรรมว่า ให้นำมือข้างที่เราวาดเปรียบเทียบกับเด็ก เราอยู่กับมือนี้มาหลายปีแต่ไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ เพราะเราไม่ใส่ใจ ไม่บันทึก เด็กก็เช่นกันถ้าเราเห็นพฤติกรรมต่างๆของเด็กควรรีบจดบันทึกในตอนนั้นเลย จะได้ไม่ลืม
พฤติกรรมที่เกิดขณะวาดภาพ เปรียบเทียบกับครูเวลาบันทึกพฤติกรรมเด็ก
หันมองมืออีกข้าง -----> คิดว่าเด็กคนอื่นก็เป็นเหมือนกับเด็กคนนี้
คลำๆดู ------> บันทึกโดยใส่ความรู้สึกไปเอง คิดไปเอง โดยที่จริงอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้
ถามเพื่อน วาดตามเพื่อน -----> ไปคุยกะครูคนอื่นเพื่อขอคำแนะนำ
แอบถอดออกมาดู -----> ครูขี้โกง
จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหา การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะและทัศนคติของครู
การเข้าใจภาวะปกติ เด็กมักจะคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง ครูต้องเรียนรู้และมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ มองเด็กทุกคนให้เท่าเทียมกันมองให้เหมือนกันทุกคน
การสอนโดยบังเอิญ
ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม เด็กจะเข้ามาถามครูยิ่งเด็กเข้ามาหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากเท่านั้น
ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก ต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
ครูต้องให้แรงเสริมทันทีทีเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และต้องละเว้นความสนใจทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การนำไปประยุกต์ใช้
นำเนื้อหาที่ครูสอนในวันนี้ไปใช้เพื่อ ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีต่อเด็ก รักเด็กให้มากๆ เข้าใจในธรรมชาติของเด็กก็จะทำให้เราเกิดความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก ทำให้เป็นครูที่ดี
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนมากตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ร่าเริง เเจ่มใส และมีสาระดีๆมาฝากนักศึกษาทุกวัน วันนี้อาจารย์แอบซึ้งจนพูดไม่ออกเลย เมื่อนักศึกษามาเซอร์ไพรส์วันเกิดให้ ที่นักศึกษามอบนาฬิกาให้เพราะอยากให้มันอยู่ติดตัวอาจารย์ตลอดเวลา และอาจารย์ก็จะได้คิดถึงพวกเราตลอดเวลาค่ะ
รักนะคะ อ. เบียร์
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สัปดาห์ที่4
วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาวาดภาพดอกหางนกยูง โดยวาดให้เหมือนของจริงที่สุด และเก็บรายละเอียดภาพให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งเขียนสิ่งที่เห็นในดอกไม้
อาจารย์ได้อธิบาย เกี่ยวกับกิจกรรมนี้ว่า...... สมมุติให้ดอกไม้ดอกนี้เป็นเด็กพิเศษ เหมือนที่เราวาดให้เก็บรายละเอียดภาพให้ได้มากที่สุด เหมือนกับเราต้องสังเกตและบันทึกทึกพฤติกรรมเด็กตลอดเวลา เป็นครูที่มีทักษะการสังเกตที่ดี และการเขียนสิ่งที่เห็นในดอกไม้ก็เปรียนเหมือนการบันทึกพฤติกรรมเด็กตามความเป็นจริง ตามสิ่งที่ตาเห็นโดยไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวมาใส่ ถ้าบันทึกตามความเป็นจริงจะทำให้พฤติกรรมเด็กไม่คลาดเคลื่อน และเราสามารถดูแลและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ตรงจุด
ร้องเพลงกันเถอะ
จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับ บทบาทตรูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
สิ่งสำคัญที่ครูควรทำคือ
--ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก---> ว่าเด็กคนนี้เป็นเด็กพิเศษตามสัญชาตญาณของตน
--ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก----> เช่นตั้งฉายาให้เด็กดาวน์ซินโดรม ว่า อาหมวย
--ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ---> ควรพูดอ้อมๆให้พ่อแม่รู้ และพูดในสิ่งทีเป็นบวก พูดชมเด็กในสิ่งที่เด็กทำได้ เท่ากับเป็นการบอกผู้ปกครองอีกแนวหนึ่งว่าก็ยังมีสิ่งที่เด็กทำไม่ได้
--สังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
การบันทึกการสังเกต
---การนับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งที่เกิดพฤติกรรม เช่นกี่ครั้งในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง
---การบันทึกต่อเนื่อง ให้รายละเอียดได้มาก
---การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในช่วงเวลาหนึ่ง
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำบทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวมไปปรับใช้ในการสอนในอนาคต ในกรณีที่ห้องเรียนนั้นมีเด็กพิเศษเรียนรวมอยู่ด้วย
ประเมินตนเอง
ทำงานเสร็จเร็ว ไม่ค่อยชอบงานศิลปะจึงทำให้วาดภาพออกมาได้ไม่สวย แต่ก็ตั้งใจฟังในเนื้อหาด้านทฤษฎีที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน เพื่อนส่วนมาก วาดรูปออกมาสวยและเหมือนกับต้นฉบับ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคในการเริ่มการเรียนการสอนที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต
บรรยากาศในห้องเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)