วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาวาดภาพดอกหางนกยูง โดยวาดให้เหมือนของจริงที่สุด และเก็บรายละเอียดภาพให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งเขียนสิ่งที่เห็นในดอกไม้
อาจารย์ได้อธิบาย เกี่ยวกับกิจกรรมนี้ว่า...... สมมุติให้ดอกไม้ดอกนี้เป็นเด็กพิเศษ เหมือนที่เราวาดให้เก็บรายละเอียดภาพให้ได้มากที่สุด เหมือนกับเราต้องสังเกตและบันทึกทึกพฤติกรรมเด็กตลอดเวลา เป็นครูที่มีทักษะการสังเกตที่ดี และการเขียนสิ่งที่เห็นในดอกไม้ก็เปรียนเหมือนการบันทึกพฤติกรรมเด็กตามความเป็นจริง ตามสิ่งที่ตาเห็นโดยไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวมาใส่ ถ้าบันทึกตามความเป็นจริงจะทำให้พฤติกรรมเด็กไม่คลาดเคลื่อน และเราสามารถดูแลและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ตรงจุด
ร้องเพลงกันเถอะ
จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับ บทบาทตรูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
สิ่งสำคัญที่ครูควรทำคือ
--ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก---> ว่าเด็กคนนี้เป็นเด็กพิเศษตามสัญชาตญาณของตน
--ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก----> เช่นตั้งฉายาให้เด็กดาวน์ซินโดรม ว่า อาหมวย
--ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ---> ควรพูดอ้อมๆให้พ่อแม่รู้ และพูดในสิ่งทีเป็นบวก พูดชมเด็กในสิ่งที่เด็กทำได้ เท่ากับเป็นการบอกผู้ปกครองอีกแนวหนึ่งว่าก็ยังมีสิ่งที่เด็กทำไม่ได้
--สังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
การบันทึกการสังเกต
---การนับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งที่เกิดพฤติกรรม เช่นกี่ครั้งในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง
---การบันทึกต่อเนื่อง ให้รายละเอียดได้มาก
---การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในช่วงเวลาหนึ่ง
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำบทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวมไปปรับใช้ในการสอนในอนาคต ในกรณีที่ห้องเรียนนั้นมีเด็กพิเศษเรียนรวมอยู่ด้วย
ประเมินตนเอง
ทำงานเสร็จเร็ว ไม่ค่อยชอบงานศิลปะจึงทำให้วาดภาพออกมาได้ไม่สวย แต่ก็ตั้งใจฟังในเนื้อหาด้านทฤษฎีที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน เพื่อนส่วนมาก วาดรูปออกมาสวยและเหมือนกับต้นฉบับ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคในการเริ่มการเรียนการสอนที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต
บรรยากาศในห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น